พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระมหากรุณารับสั่งเล่าเบื้องหลังการพระราชนิพนธ์เพลงเป็นครั้งแรกแก่สมาคมดนตรีเนื่องในโอกาสที่พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ " Echo" บรรเลงเป็นปฐมฤกษ์ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง "Echo" ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ นับเป็นบทแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงพร้อมคำร้องภาษาอังกฤษ ขณะนั้นมีพระชนมพรรษา ๔๐ พรรษา
ย้อนหลังไป ๔ ปีก่อนทรงพระราชนิพนธ์ "Echo" พระราชอัจฉริยภาพด้านดนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปรากฏก้องในนานาประเทศ ขณะที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสาธารณรัฐออสเตรียอย่างเป็นทางการในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา (Die Akademie fur Musik und Darstellende Kunst in Wien) ได้ทูลเกล้า ถวายตำแหน่งอันทรงเกียรติสูงส่งยิ่งนั่นคือ สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันอันเก่าแก่แห่งนี้
เนื่องจากพระปรีชาสามารถในการพระราชนิพนธ์ดนตรีเป็นที่ปรากฏและนิยมชื่นชมอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนชาวออสเตรีย จนกระทั่งวงดุริยางค์ นีเดอร์ เออสเตอร์ไรซ์ โทนคันสท์เลอร์ (Nieder Osterreich Tonkunstler) ได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ ชุด "มโนราห์" "สายฝน""ยามเย็น" "มาร์ชราชนาวิกโยธิน" และ "มาร์ชราชวัลลภ" ออกกระจายเสียงทางสถานีวิทยุของรัฐบาลถ่ายทอดไปทั่วดินแดนแห่งดนตรีคลาสสิกอันลือชื่อของทวีปยุโรป
บรรยากาศอันเป็นกันเองที่มิได้เตรียมการล่วงหน้าเช่นนี้เป็นที่นิยมยกย่องของชาวอเมิรกันเป็นอย่างยิ่ง สถานีวิทยุเสียงแห่งอเมริกา ได้เชิญบทที่พระราชทานสัมภาษณ์พิเศษเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งดนตรีที่ทรงร่วมบรรเลงออกกระจายเสียงทางสถานีวิทยุไปทั่วโลกด้วย นับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการกระชับมิตรภาพครั้งสำคัญครั้งแรกระหว่างไทยกับสหรัฐในยุคนั้น
ในปัจจุบัน "พรปีใหม่" ได้กลายเป็นเพลงประเพณี ในวันส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ของคนไทย ในสถาบันการศึกษาระดับสูงของประเทศ "มหาจุฬาลงกรณ์" "ธรรมศาสตร์" และ "เกษตรศาสตร์" ได้กลายเป็นเพลงอันศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัยอันเก่าแก่ทั้งสามแห่ง และในวงราชการทหาร "มาร์ชราชวัลลภ" และ "มาร์ชธงชัยเฉลิมพล" ได้กลายเป็นแบบฉบับของดนตรีมาร์ชที่ใช้บรรเลงประจำปีในพระราชพิธีอันสำคัญยิ่งของชาติคือ พระราชพิธีปฏิญาณตนและตรวจพลสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
จากลักษณะพิเศษต่าง ๆ ของเพลงพระราชนิพนธ์นี้อาจกล่าวได้ว่าบทพระราชนิพนธ์ทั้ง ๔๓ เพลงนี้ ต่างสะท้อนถึงสะท้อนถึงพระราชประวัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ตลอดจนพระราชกรณียกิจนานัปการที่ได้ทรงปฏิบัติตั้งแต่เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพยานแห่งความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและประชาชนชาวไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องยืนยันว่าความสุขของปวงประชาคือ ความสุขของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้
ความสนพระราชหฤทัยด้านดนตรี
หลังจากทรงฝึกหัดดนตรีขั้นพื้นฐานได้นานพอสมควรแล้ว จึงเริ่มสนพระราชหฤทัยทรงดนตรีไปในแนวแจ๊ส (Jazz) ทรงศึกษาประวัตินักดนตรีที่มีชื่อเสียงและทรงเปรียบเทียบฝีมือการเล่นดนตรีต่าง ๆ จากแผ่นเสียงที่บรรเลงโดยนักดนตรีเหล่านั้น แล้วจึงทรงบรรเลงสอดแทรกพร้อมกับแผ่นเสียงของนักดนตรี ที่มีชื่อเสียงตามสไตล์ที่โปรด เช่น สไตล์การเป่าโซปราโน แซกโซโฟน ของซิดนี่ เบเซ่ (Sydney Bechet) ออโต แซกโซโฟน ของจอห์นนี่ ฮอดเจส (Johny Hodges) เปียโนและวงดนตรีของดยุค เอลลิงตัน (Duke Ellington) เป็นต้น
ยามที่ทรงว่างจากการศึกษาก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรดานักเรียนไทยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไปร่วมสโมสรสังสรรค์ ณ พระตำหนักวิลล่าวัฒนา และร่วมทรงดนตรีด้วยอย่างสำราญพระราชหฤทัย เมื่อเสด็จฯ ประทับที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีสเป็นการส่วนพระองค์ก็ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณร่วมทรงดนตรีกับนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส การที่ทรงใช้ดนตรีวงสมัครเล่นเป็นสื่อสร้างบรรยากาศและความสัมพันธ์ที่สนุกสนานและเป็นกันเองเช่นนี้ ได้กลายเป็นผลประโยชน์อเนกอนันต์ในเวลาต่อมา คือการประสานความร่วมมือระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับบุคคลในวงการต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์งานสาธารณประโยชน์นานาประการแก่ประเทศชาติ
เมื่อถึงตอนเดี่ยว (Solo) ทรงสามารถใช้ปฏิภาณเล่นเดี่ยวได้อย่างยอดเยี่ยม ศัพท์ทางดนตรีเรียกว่า การเดี่ยวแบบ "Soloadlip" ซึ่งถือว่ายาก เพราะนักดนตรีจะต้องแต่งเนื้อหาขึ้นโดยฉับพลัน แต่ให้อยู่ในกรอบของจังหวะและแนวเพลงนั้น พระราชอัจฉริยภาพทางดนตรีนั้นถึงขั้นที่ทรงคลาริเน็ตและแซกโซโฟนบรรเลงได้อย่างคล่องแคล่ว และสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างครื้นเครงกับนักดนตรีต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น เบนนี่ กู๊ดแมน (Benny Goodman) แจ๊ก ทีการ์เด้น (Jack Teagarden) นักตีระนาดเหล็กสากล ไลออเนล แฮมพ์ตัน (Lionel Hampton) นักเป่าทรัมโบน และ สแตน เก็ตส์ (Stan getz) นักเป่าเทนเนอร์ แซกโซโฟน
เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนนครนิวยอร์คประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลกเหล่านั้นล้วนถวายการยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริภาพสูงส่ง
ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทและผู้ที่เคยได้ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่าถึงพระราชอัจฉยริภาพในการพระราชนิพนธ์เพลงว่า ทรงแต่งเพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย ครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัยหยิบฉวยซองจดหมายได้ก็ทรงตีเส้น ๕ เส้น แล้วทรงเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นโดยฉับพลัน เช่น "เราสู้" เป็นต้น
รายชื่อเพลงพระราชนิพนธ์ทั้ง 48 เพลง | สนใจเนื้อเพลงพระราชนิพนธฺ์ คลิก | |||
1
| แสงเทียน (Candlelight Blues) |
25
| สายลม (I Think of You) | |
2
| ยามเย็น (Love at Sundown) |
26
| ไกลกังวล (When)เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย | |
3
| สายฝน (Falling Rain) |
27
| แสงเดือน (Magic Beams) | |
4
| ใกล้รุ่ง (Near Dawn) |
28
|
ฝัน (Somewhere Somehow), เพลินภูพิงค์
| |
5
| ชะตาชีวิต (H.M. Blues) |
29
| มาร์ชราชนาวิกโยธิน (Royal Marines March) | |
6
| ดวงใจกับความรัก (Never Mind the Hungry Men's Blues |
30
| ภิรมย์รัก (A Love Story) | |
7
| มาร์ชราชวัลลภ (Royal Guards March) |
31
| Nature Waltz | |
8
| อาทิตย์อับแสง (Blue Day) |
32
| The Hunter | |
9
| เทวาพาคู่ฝัน (Dream of Love Dream of You) |
33
| Kinari Waltz | |
10
| คำหวาน (Sweet Words) |
34
| แผ่นดินของเรา (Alexandra | |
11
| มหาจุฬาลงกรณ์ (Maha Chulalongkorn) |
35
| พระมหามงคล | |
12
| แก้วตาขวัญใจ (Lovelight in My Heart) |
36
| ยูงทอง | |
13
| พรปีใหม่ |
37
| ในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind) | |
14
| รักคืนเรือน (Love Over Again) |
38
| เตือนใจ (Old-Fashioned Melody) | |
15
| ยามค่ำ (Twilight) |
39
| ไร้เดือน (No Moon), ไร้จันทร์ | |
16
| ยิ้มสู้ (Smiles) |
40
| เกาะในฝัน ( Dream Island) | |
17
| มาร์ชธงไชยเฉลิมพล (The Colours March) |
41
| แว่ว (Echo) | |
18
| เมื่อโสมส่อง (I Never Dream) |
42
| เกษตรศาสตร์ | |
19
| ลมหนาว (Love in Spring) |
43
| ความฝันอันสูงสุด (The Impossible Dream) | |
20
| ศุกร์สัญลักษณ์ (Friday Night Rag) |
44
| เราสู้ | |
21
| Oh I say |
46
| เรา-เหล่าราบ ๒๑ (We-Infantry Regiment 21) | |
22
| Can't You Ever See |
46
| Blues for Uthit | |
23
| Lay Kram Goes Dixie |
47
| รัก | |
24
| ค่ำแล้ว (Lullaby) |
48
| เมนูไข่ | |
สนใจเนื้อเพลงพระราชนิพนธฺ์ คลิก |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น