วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เหรียญกษาปณ์

   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ไทย พระองค์แรกที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูปเงินตราไทย จากที่เคยใช้เงินพดด้วง หรือเงินกลมที่ใช้มาแต่โบราณกาลให้มาใช้เงินเหรียญหรือเงินแบน แบบประเทศทางตะวันตก

ความหมายของ กษาปณ์

ภาพ:Mmmmmm_3.jpg

         คำว่า “กษาปณ์” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2534 เขียนได้ 2 อย่างคือ กระษาปณ์ หรือ กษาปณ์ เป็นคำนามหมายถึง เงินเหรียญที่ทำด้วยโลหะหรือวัตถุอื่น ๆ ที่ใช้ในมาตราเงินตรามีราคาต่าง ๆ กัน แต่เดิมเขียนว่า กสาปน์ และกระสาปน์ ปัจจุบันทางราชการใช้เขียนว่า กษาปณ์

ตำนานเหรียญกษาปณ์ไทย

ภาพ:Mmmmmm_1.jpg

         ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี]] เรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้านั้น เป็นเงินกลมที่เรียกกันว่า “เงินพดด้วง” และมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาโดยตลอด จะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดและตราประจำรัชกาลเท่านั้น ครั้นพอถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงเริ่มมีการผลิตเหรียญกษาปณ์แบบมาตรฐานสากลขึ้น เนื่องจากมีการขยายตัวทางการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ จึงมีการนำเหรียญแบนเข้ามา และได้รับความนิยมในระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ประกอบกับเงินพดด้วงผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการกับทั้งมีการปลอมแปลงกันมาก จึงทำให้การผลิตเงินพดด้วงลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็มีประกาศเลิกใช้อย่างถาวรในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ใช้กันมาเป็นเวลากว่า 600 ปี
         การผลิตเหรียญกษาปณ์ตามแบบมาตรฐานสากลนี้โดยพระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองผลิตเหรียญกษาปณ์ซึ่งทำด้วยมือขึ้น ด้วยวิธีทำให้โลหะเงินให้เป็นแผ่นแบน ตัดเป็นชิ้นกลมให้ได้ขนาดและน้ำหนัก แล้วตีตราประทับ (ระหว่างรอเครื่องจักรผลิตเหรียญจากประเทศอังกฤษ) แต่ผลิตจำนวนไม่มากและไม่ค่อยเรียบร้อยจึงยุติลง หลังจากเครื่องจักรผลิตเหรียญส่งมาถึง ได้มีการจัดตั้งโรงงานผลิตเหรียญด้วยเครื่องจุกรขึ้น โดยได้รับพระราชทานนามว่า “โรงกสาปน์สิทธิการ” และเริ่มผลิตเหรียญกษาปณ์ด้วยเครื่องจักรขึ้น เหรียญแรกคือ “เหรียญบรรณาการ” แต่ก็เลิกเสียเพราะผลิตในแต่ละวันได้ไม่มากและไม่เพียงพอ

ภาพ:Mmmmmm_4.jpg

         ต่อมาใน พ.ศ. 2405 มีการผลิตกระแปะขึ้นใช้อีกอย่างหนึ่ง โดยเลียนแบบกระแปะของชาวจีนและญวน เป็นเหรียญดีบุกผสมทองแดง ลักษณะกลมแบน ผิวเกลี้ยง กระแปะนี้มีตัวเลขและตัวหนังสือบอกราคาอยู่ถึง 3 ภาษา คือ ไทย จีน โรมัน จึงอาจจะกล่าวได้ว่ากระแปะสมัยนี้จัดเป็นเงินตรานานาชาติ เพราะมีถึง 3 ภาษา นอกจากนี้ยังมีการใช้ทองคำเป็นสื่อกลางในการแปลงเปลี่ยนสินค้าอีกด้วย มีการผลิตทองแปหรือเหรียญทองคำ ราคาทศ (แปดบาท) พิศ (สี่บาท) พัดดึงส์ (สิบสลึง) เป็นต้น และยังมีการผลิตเหรียญกษาปณ์ ทองคำ เงิน ทองแดง ตราพระมหามงกุฎ พระแสงจักร อีกหลายครั้ง หลายราคาด้วย
         ใน ปี พ.ศ. 2407 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญตรา “พระมหาพิชัยมงกุฎ” ขึ้น เป็นเหรียญทองคำและเงินจเพื่อพระราชทานแก่กระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ซึ่งอาจจะนับว่าเหรียญตราฯ นี้ ผลิตขึ้นเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเหรียญแรกก็ว่าได้
         ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้โปรดฯ ให้ผลิตเงินเหรียญขึ้นใช้ใน พ.ศ. 2411 เป็นเหรียญดีบุกราคาโสฬส นอกจากนี้ยังมีการผลิตเหรียญเงินตราพระเกี่ยวยอด เหรียญเงินตราแผ่นดิน (ตราอาร์ม) ราคาบาท สลิง และเฟื้อง เหรียญทองแดง จปร. เหรียญทองแดงตราพระรูป (พระสยามเทวาธิราช) ราคาซีก เสี้ยว อัฐ และโสฬส
         พ.ศ.2451 มีการผลิตเหรียญสตางค์ทองขาว (นิกเกิล) และทองแดง ซึ่งมีลักษณะแปลกไป คือ เป็นเหรียญกลมแบนที่มีรูตรงกลาง หรือที่มักเรียกกันว่า “สตางค์รู” โดยมีลักษณะด้านหน้าเป็นลายอุณาโลมมีคำว่าสยามรัฐ และตัวเลขบอกราคา ด้านหลังเป็นรูปจักร 8 แฉก และบอกปีที่ผลิต
         พ.ศ. 2452 พระองค์ทรงสั่งเหรียญเงินบาทจากโรงกษาปณ์ปารีส ประเทศผรั่งเศส เรียกว่า “เหรียญเงินบาทจุฬาลงกรณ์สยามินทร์” ซึ่งโปรดให้ทำขึ้นเพื่อเตรียมใช้ตามพระราชบัญญัติทองคำ แต่ยังมิทันออกใช้ พระองค์ก็ทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน จึงนำเหรียญนี้มาพระราชทานเป็นที่ระลึกในงานพระเมรุพระบรมศพของพระองค์แทน
         นอกจากนี้ยังมีเงินที่ใช้ในโรงบ่อนอีกด้วย คือ เหรียญเงินรูปถ้วยหรือเหรียญเงินงอ เป็นเหรียญสลึงกับเฟื้องที่นายบ่อนนำมาทุบให้งอ เพื่อสะดวกในการใช้ขอเกี่ยว และอีกชนิดคือเงินปี้

ภาพ:Mmmmmm_5.jpg

         ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ตอนต้น ยังคงใช้เหรียญกษาปณ์ที่ผลิตขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งยังคงมีมากเพียงพอ จนถึง พ.ศ. 2456 พระองค์จึงโปรดแกล้าฯ ให้ออกแบบเหรียญเงินขึ้นใหม่ นอกจากนี้มีการผลิตเหรียญสตางค์ทองขาวแบบมีรูตรงกลางขึ้นอีก โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็จะแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อย เช่น เปลี่ยนปีที่ผลิตจากรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) มาเป็นพุทธศักราช (พ.ศ.)
         ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดฯ ให้ผลิตเหรียญสตางค์ ทองขาวขึ้นใน พ.ศ. 2469 ตามแบบสตางค์รูเหมือนในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่แตกต่างกันในรายละเอียดบ้างเช่น ลักษณะของจักรนี้จะมีแฉกแบบแปลกออกไป ใน พ.ศ. 2472 โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญเงิน 5 ส.ต. และ 20 ส.ต. ขึ้น โดยมีด้านหน้าเป็นพระบรมรูปครึ่งพระองค์ ด้านหลังเป็นรูปช้างเฝือก

ภาพ:Mmmmmm_6.jpg

         ในสมัยพระบาทสามเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ตอนต้น ยังคงมีการผลิตเหรียญสตางค์รูทองขาว (นิกเกิล) ใช้ โดยมีลักษณะใกล้เคียงกับสมัยก่อน ๆ แต่ต่อมากการผลิตสตางค์รูจะมีลวดลายแตกต่างออกไปเช่น ด้านหน้าเปลี่ยนจากลายอุณาโลม มาเป็นลายกนกไทย และลายกระหนกแบบลายบัว กระหนกแข้งสิงห์ และเปลี่ยนคำว่าสยามรัฐมาเป็นรัฐบาลไทย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการผลิตเหรียญสตางค์ทองแดงราคาครึ่งสตางค์ขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ไม่เป็นที่นิยมของประชาชน
         พ.ศ. 2489 มีการผลิตเหรียญดีบุกราคาสตางค์แบบลักษณะไม่มีรูตรงกลาง ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปเมื่อทรงพระเยาว์ ด้านหลังเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ ซึ่งจะแตกต่างจากสมัยก่อนที่เป็นรูปช้าง

ภาพ:Mmmmmm_7.jpg

         ในสมัยพระราบสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เริ่มมีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในรัชสมัยของพระองค์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2493 เป็นเหรียญสตางค์ทองแดงและดีบุก ลักษณะกลมแบนโดยไม่มีรูตรงกลางด้านหน้าเป็นพระรมรูป ด้านหลังเป็นตราแผ่นดิน พ.ศ. 2515 มีการผลิตเหรียญกษาปณ์นิเกิลราคา 5 บาท ออกใช้หมุนเวียนแทนธนบัตรชนิดราคา 5 บาท มีลักษณะเป็น 9 เหลี่ยม และได้ผลิตออกใช้จนถึง พ.ศ. 2520 จึงเลิกผลิตเพราะมีการปลอมแปลงกันมาก จึงได้มีการผลิตเหรียญทองขาวสอดไส้ทองแดงราคา 5 บาทขึ้นแทน และเป็นเหรียญแบบแรกที่ใช้โลหะอันเป็นชั้น ขอบเหรียญมีคำว่า “กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง” ลักษณะส่วนใหญ่ของเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในสมัยนี้ จะเป็นเหรียญกลมไม่มีรูตรงกลาง ด้านหน้าเป็นพระบรมรูป ส่วนหลังมีหลายรูปแบบ เช่น ตราแผ่นดิน ตราพระครุฑพ่าห์ ตราเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ตรางรวงข้าว เป็นต้น

ภาพ:Mmmmmm_8.jpg

         นอกจากนี้ในรัชสมัยปัจจุบันยังได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลุกขึ้น โดยเหรียญแรกผลิตเมื่อปี 2504 ผลิตขึ้นเป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จกลับจากการเยือนประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยผลิตเป็นเหรียญทองขาวชนิดราคา 1 บาท ต่อจากนั้นมาจึงได้มีการผลิตเหรียญกาษปณ์ที่ระลึกขึ้นอีกหลาย ๆ โอกาส
         พ.ศ. 2525 กรมธนารักษ์ได้ทดลองผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกประเภทขัดเงา (proof coin) ขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เพื่อทูลเกล้าถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศาสุวงศ์เท่านั้น เหรียญประเภทขัดเงานี้ แม้จะมีราคาสูงกว่าหน้าเหรียญ แต่ก็มีความสวยงามมากและได้รับความนิยมสูง ดังนั้น เมื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกคราวใดก็มักจะผลิตเหรียญประเภทขัดเงาด้วยเกือบทุกคราวไป

ชนิดของเหรียญกษาปณ์

         1. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มี 8 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท และ 1 บาท 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ แต่ที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมี 5 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท และ 1 บาท 50 สตางค์, 25 สตางค์ ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น
         2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญตทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ โดยจัดทำ 2 ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา
         ข้อแตกต่างระหว่างเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ก็คือการวางลวดลายด้านหน้าและด้านหลัง โดนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนจะวางลวดลายแบบ American Turning ซึ่งจะต้องพลิกดูลวดลายด้านหลังในแนวดิ่ง สำหรับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกได้จัดวางลวดลายแบบ European Turning ซึ่งจะต้องพลิกในแนวนอนเพื่อดูลวดลายด้านหลัง
         3. เหรียญที่ระลึก (Medal) เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรงที่จะ ไม่มีราคาหน้าเหรียญ เนื่องจากมิใช่เงินตราจึงไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- วิกิพีเดีย
- เว็บไซด์กรมธนารักษ์
- หอมรดกไทย
- UAMULET.COM
ภาพประกอบจาก UAMULET.COM
โพสต์โดย :: สาครินทร์ นุ้ยพ่วง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น