วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การแก้ลำดับการบู๊ตของ grub2 ใน UBUNTU

ในกรณีที่เราติดตั้ง UBUNTU คู่กับ Windows ในเครื่องเดียวกันนั้นเมนูบู๊ตของ grub จะบู๊ต UBUNTU เป็นลำดับที่ 1 ถ้าหากต้องการแก้ไขลำดับการบู๊ตใหม่ให้ทำตามนี้ครับ

เปิดเทอมินอลแล้ว sudo gedit /etc/default/grub
 ในไฟล์ grub มีข้อมูลดังนี้ครับ
# If you change this file, run 'update-grub' afterwards to update
# /boot/grub/grub.cfg.

GRUB_DEFAULT=0
#GRUB_HIDDEN_TIMEOUT=0
GRUB_HIDDEN_TIMEOUT_QUIET=true
GRUB_TIMEOUT=10
GRUB_DISTRIBUTOR=`lsb_release -i -s 2> /dev/null || echo Debian`
GRUB_CMDLINE_LINUX_DEFAULT="quiet splash nomodeset video=uvesafb:mode_option=1280x800-24,mtrr=3,scroll=ywrap"
GRUB_CMDLINE_LINUX=""

# Uncomment to disable graphical terminal (grub-pc only)
#GRUB_TERMINAL=console

# The resolution used on graphical terminal
# note that you can use only modes which your graphic card supports via VBE
# you can see them in real GRUB with the command `vbeinfo'
#GRUB_GFXMODE=1280x800
GRUB_GFXPAYLOAD_LINUX=1280x800

# Uncomment if you don't want GRUB to pass "root=UUID=xxx" parameter to Linux
#GRUB_DISABLE_LINUX_UUID=true

# Uncomment to disable generation of recovery mode menu entries
#GRUB_DISABLE_LINUX_RECOVERY="true"

# Uncomment to get a beep at grub start
#GRUB_INIT_TUNE="480 440 1"

ซึ่งค่าเดิมตรง  GRUB_DEFAULT=0
เปลี่ยนจากเลข 0 ซึ่งคือตัวแรกสุด เป็นตัวเลขอื่น โดยให้นับเอาจากหน้าบู๊ตเมนูว่าเอาตัวไหนบู๊ตเป็นลำดับแรกครับ

เปลี่ยนแล้ว sudo update-grub

สาครินทร์   นุ้ยพ่วง
การติดตั้ง grub boot load บน ubuntu เข้าไปใหม่
โดย อดิศร  ขาวสังข์ 
เขียนเมื่อ 27/11/2548

บทนำในบางครั้งเราอาจจะทำให้ boot loader ที่เป็น grub หายไปเช่นกรณีของการลง OS สอง OS (Windows และ Linux) บนเครื่องเดียวกัน และเมื่อเจอปัญหาอาจมีความจำเป็นต้องลง Windows ใหม่  ซึ่งจะทำให้ boot loader ที่อยู่ในส่วนของ Master boot recored (mbr) หายไป  จึงไม่สามารถ boot เข้าสู่ Linux ได้ทั้ง ๆ ที่ partition ที่เป็น Linux ยังคงมีอยู่ หรืออาจจะเกิดจากกรณีอื่น ๆ 
ขั้นตอนการแก้ปัญหา

  1. boot เครื่องจากแผ่น boot (แผ่นที่ใช้ติดตั้ง) ของ ubuntu
  2. เมื่อขึ้นหน้าต่างของการติดตั้งให้กด Enter เหมือนขั้นตอนการติดตั้งปกติ
  3. เลือกภาษา (Choose language) เลือกอะไรก็ได้ เพราะไม่ได้ติดตั้งจริง และไม่มีผลใด ๆ
  4. เลือกคีย์บอร์อด (Select a keyboard layout) ให้เลือกเป็นค่าที่เห็นอยู่ก็แล้วกัน
  5. ถ้าเจอขั้นตอน Configure the network หรือให้ตั้งชื่อ host ก็ไม่ต้องสนใจอะไรมากให้ Enter ไปเรื่อย ๆ
  6. ที่สำคัญเมื่อถึงขั้นตอน Partition Disk ให้หยุดไว้ตรงนี้ก่อนครับอย่า Enter หรือเลือกรายการใด ๆ เดี๋ยวจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่ให้กดคีย์ Ctl + Alt + F2 (ถ้าจะกลับหน้าเดิมใช้ Ctl + Alt + F1) และกดปุ่ม Enter เพื่อ Active console
  7. จากนั้นจะได้หน้าต่าง shell prompt ขึ้นมา
  8. ให้ทำการตรวจสอบตำแหน่ง Partition หลักที่เป็น Linux ด้วยคำสั่ง fdisk -l ซึ่งของแต่ละคนอาจจะต่างกัน แต่ของผมจะเป็น /dev/hd3
  9. ให้ทำการ mount พาร์ติชันที่เป็น Linux ให้เป็น directory ใด ๆ ซึ่งในที่นี้ของเลือกเป็น /tmp/hda3  แต่ก่อนการ mount ต้องการทำการสร้าง directory ดังกล่าวก่อน  และเพื่อความชัวร์ก็ให้ลองใช้คำสั่ง ls -l /tmp ดูก่อนว่า directory นี้ได้เคยมีการสร้างไว้แล้วยัง ซึ่งถ้าไม่มีจะได้ผลลัพท์ที่ว่างเปล่า
  10. ทำการสร้าง directory ดังกล่าวด้วยคำสั่ง mkdir /tmp/hda3
  11. ตรวจสอบผลการสร้างด้วยคำสั่ง ls -l /tmp ซึ่งจะมี directory ย่อยที่ชื่อ hda3
  12. ทำการ mount ด้วยคำสั่ง mount -t ext3 /dev/hda3 /tmp/hda3
  13. ตรวจสอบผลการ mount ด้วยคำสั่ง  mount จะมีผลการ mount เป็น /dev/hda3 on /tmp/hda3 type ext3 (rw)
  14. เปลี่ยนสถานะไปเป็น root ที่ hda3 ด้วยคำสั่ง chroot /tmp/hda3
  15. แล้ว shell prompt ก็จะเปลี่ยน (ในที่นี้เปลี่ยนจาก   ~#  ไปเป็น  sh-3.00#  )
  16. ติดตั้ง grub boot loader ด้วยคำสั่ง grub-install /dev/hda
  17. ถ้าข้อความประมาณบรรทัดที่ 5 บอกว่า Installation finished. No error reported ก็แสดงว่าการติดตั้ง OK ครับ
  18. reboot เครื่องด้วยคำสั่ง reboot
    หมายเหตุ : ถ้าต้องการแกไขเมนูของ grub แก้ได้ที่ไฟล์ /boot/grub/menu.lst
จบครับ

สาครินทร์ นุ้ยพ่วง

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Windows – วิธีการถอน Windows Key ลิขสิทธิ์ประจำเครื่อง

หากท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook พร้อม OS Windows License ถูกต้อง
ซึ่งจะมีแผ่นสติกเกอร์แปะติดหน้า-หลังเครื่อง ซึ่งจะมีรหัสแสดง 25 ตัวเลขดังนี้
XXXXX-XXXXX-XXXXX-XXXXX-XXXXX

ในกรณีที่ต้องการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเปลี่ยนเครื่องโดยต้องการใช้ Windows License ตัวเดิม
สามารถทำการถอดถอน Windows Product Key ก่อนโดยทำดังนี้
  1. ในระบบปฎิบัติการ Windows ให้เปิดโปรแกรม command prompt ด้วยวิธีการกด Start > Run พิมพ์คำสั่ง cmd และคลิกเมาส์ขวามือเลือก “Run as Administrator
  2. พิมพ์คำสั่ง slmgr /dlv
  3. รอจนปรากฎหน้าต่าง “Windows Script Host” ให้สังเกตุหาบรรทัดข้อความ Activation ID:
  4. พิมพ์คำสั่ง slmrg /upk “ตามด้วยรหัส Activation ID” ตามภาพข่างล่าง
  5. ถ้าพิมพ์ถูกต้องจะปรากฎหน้าต่าง “Uninstalled product key successfully.” แสดงว่าถอน Product Key เรียบร้อยแล้ว
  6. จะปรากฎว่า Windows activation ไม่มี License key แล้ว

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การติดตั้งฟอนต์ "ไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK)" ลงในระบบปฎิบัติการ Ubuntu

1. เข้าไปดาวน์โหลดฟอนต์ที่เว็บไซต์ http://www.f0nt.com/release/13-free-fonts-from-sipa


2. จากนั้นก็ให้แตกไฟล์ฟอนต์ทั้งหมด ดังภาพ


3. จากนั้นก็ copy โฟลเดอร์ ที่เราได้แตกไฟล์ฟอนต์แล้วไปวางไว้ที่ /usr/share/fonts/truetype


4. เปิด terminal ขึ้นมาแล้วเข้าไปที่ path => cd /usr/share/fonts ดังภาพ


5. จากนั้นใช้คำสั่ง sudo fc-cache -f -v เพื่ออัพเดท cache ฟอนต์ของระบบ


6. ติดตั้งฟอนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว


7. ภาพตัวอย่างเพื่อทดสอบว่าใช้ฟอนต์ ได้หรือไม่


อ้างอิงวิธีการจาก : เพิ่ม font ลงในระบบ ubuntu

การแก้ลำดับการบู๊ตของ grub2 ใน UBUNTU

ในกรณีที่เราติดตั้ง UBUNTU คู่กับ Windows ในเครื่องเดียวกันนั้นเมนูบู๊ตของ grub จะบู๊ต UBUNTU เป็นลำดับที่ 1 ถ้าหากต้องการแก้ไขลำดับการบู๊ตใหม่ให้ทำตามนี้ครับ

เปิดเทอมินอลแล้ว sudo gedit /etc/default/grub
 ในไฟล์ grub มีข้อมูลดังนี้ครับ
# If you change this file, run 'update-grub' afterwards to update
# /boot/grub/grub.cfg.

GRUB_DEFAULT=0
#GRUB_HIDDEN_TIMEOUT=0
GRUB_HIDDEN_TIMEOUT_QUIET=true
GRUB_TIMEOUT=10
GRUB_DISTRIBUTOR=`lsb_release -i -s 2> /dev/null || echo Debian`
GRUB_CMDLINE_LINUX_DEFAULT="quiet splash nomodeset video=uvesafb:mode_option=1280x800-24,mtrr=3,scroll=ywrap"
GRUB_CMDLINE_LINUX=""

# Uncomment to disable graphical terminal (grub-pc only)
#GRUB_TERMINAL=console

# The resolution used on graphical terminal
# note that you can use only modes which your graphic card supports via VBE
# you can see them in real GRUB with the command `vbeinfo'
#GRUB_GFXMODE=1280x800
GRUB_GFXPAYLOAD_LINUX=1280x800

# Uncomment if you don't want GRUB to pass "root=UUID=xxx" parameter to Linux
#GRUB_DISABLE_LINUX_UUID=true

# Uncomment to disable generation of recovery mode menu entries
#GRUB_DISABLE_LINUX_RECOVERY="true"

# Uncomment to get a beep at grub start
#GRUB_INIT_TUNE="480 440 1"

ซึ่งค่าเดิมตรง  GRUB_DEFAULT=0
เปลี่ยนจากเลข 0 ซึ่งคือตัวแรกสุด เป็นตัวเลขอื่น โดยให้นับเอาจากหน้าบู๊ตเมนูว่าเอาตัวไหนบู๊ตเป็นลำดับแรกครับ

เปลี่ยนแล้ว sudo update-grub

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธี Crack Adobe Creative Suite 5 Master Collection

ให้ Uninstall แล้ว ถ้าเราได้ติดตั้งไปแล้ว แล้วเคยพยายาม Crack แล้วไม่ผ่าน ไม่จำเป็นว่าจะต้องไม่ต่อ internet

มาเริ่มกันเลย ก่อนอื่น ก่อนจะติดตั้งใหม่ ให้แก้ไฟล์ hosts ที่อยู่ใน path ดั่งนี้เลย C:\Windows\System32\drivers\etc



จะเจอไฟล์ hosts อยู่ ให้ทำการแก้ไขด้วย notepad ถ้าเปิดหรือแก้ไขไม่ได้ ให้รันด้วย administrator นะครับ เพราะไฟล์นี้อยู่ในสิทธิ์ของ admin  แก้ให้ได้ดั่งรูปนะครับ ถ้าไม่ยังไม่ได้เซทส่วนนี้



พอเราเปิดไฟล์ hosts ด้วย notepad ได้แล้ว ให้เพิ่มบรรทัดเหล่านี้เข้าไปในไฟล์เลยครับ


127.0.0.1 activate.adobe.com
127.0.0.1 localhost
127.0.0.1 3dns.adobe.com
127.0.0.1 3dns-1.adobe.com
127.0.0.1 3dns-2.adobe.com
127.0.0.1 3dns-3.adobe.com
127.0.0.1 3dns-4.adobe.com
127.0.0.1 activate.adobe.com
127.0.0.1 activate-sea.adobe.com
127.0.0.1 activate-sjc0.adobe.com
127.0.0.1 activate.wip.adobe.com
127.0.0.1 activate.wip1.adobe.com
127.0.0.1 activate.wip2.adobe.com
127.0.0.1 activate.wip3.adobe.com
127.0.0.1 activate.wip4.adobe.com
127.0.0.1 adobe-dns.adobe.com
127.0.0.1 adobe-dns-1.adobe.com
127.0.0.1 adobe-dns-2.adobe.com
127.0.0.1 adobe-dns-3.adobe.com
127.0.0.1 adobe-dns-4.adobe.com
127.0.0.1 adobeereg.com
127.0.0.1 practivate.adobe
127.0.0.1 practivate.adobe.com
127.0.0.1 practivate.adobe.newoa
127.0.0.1 practivate.adobe.ntp
127.0.0.1 practivate.adobe.ipp
127.0.0.1 ereg.adobe.com
127.0.0.1 ereg.wip.adobe.com
127.0.0.1 ereg.wip1.adobe.com
127.0.0.1 ereg.wip2.adobe.com
127.0.0.1 ereg.wip3.adobe.com
127.0.0.1 ereg.wip4.adobe.com
127.0.0.1 hl2rcv.adobe.com
127.0.0.1 wip.adobe.com
127.0.0.1 wip1.adobe.com
127.0.0.1 wip2.adobe.com
127.0.0.1 wip3.adobe.com
127.0.0.1 wip4.adobe.com
127.0.0.1 www.adobeereg.com
127.0.0.1 wwis-dubc1-vip60.adobe.com
127.0.0.1 www.wip.adobe.com
127.0.0.1 www.wip1.adobe.com
127.0.0.1 www.wip2.adobe.com
127.0.0.1 www.wip3.adobe.com
127.0.0.1 www.wip4.adobe.com
127.0.0.1 wwis-dubc1-vip60.adobe.com
127.0.0.1 crl.verisign.net
127.0.0.1 CRL.VERISIGN.NET
127.0.0.1 ood.opsource.net


หลังจากนั้นก็ save ไว้เลยครับแล้วทำการ reboot เครื่องก่อนหนึ่งรอบ

หลังจากนั้นก็เริ่มทำการติดตั้งได้เลยครับ หลังจากที่ทำการเริ่มติดตั้งแล้วโปรแกรมจะมีกรอบขึ้นมาให้ใส่ serial key ให้เลือก serial key ดั่งต่อไปนี้เข้าไปลองใช้ดูนะครับ


1330-1054-5518-7749-9186-5808

1325-1053-8315-0110-2933-6212 

1325-1118-5864-4422-1094-1166

1325-1145-9329-8504-4109-5334

1325-1476-6551-7242-1245-7100


สาครินทร์ นุ้ยพ่วง
30/05/58

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ติดตั้ง Windows บน MacBook Air

สำหรับหลายๆที่ท่านที่ซื้อ MacBook Air ตัวใหม่ล่าสุด หรือกำลังเล็งๆไว้อยู่ อาจประสบปัญหาสำคัญคือ มันไม่มี DVD Drive มาในตัว

แต่อยากจะลง Windows ไว้ในเครื่องสักหน่อย แต่ก็ไม่อยากจะเสียตังค์เพิ่มซื้อ External Drive แล้ว จะทำยังไงดีเนี่ย??

EFI ของMacBook Air เองก็ไม่ยอมบูทจาก USB Drive อีก โอ้ว! ปัญหาโลกแตกจริงๆ :tuzki023:

แต่วันนี้เราขอเสนอวิธีการใหม่ล่าสุด ที่จะทำให้คุณสามารถลง Windows ได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่ง DVD Drive อีกแล้ว :tuzki036:

ชักเริ่มเพ้อเจ้อยาว เข้าเรื่องของเรากันเลยดีกว่า :tuzki007:


สิ่งที่ต้องการ

- Windows OS PC (เครื่องที่มีวินโดวส์อยู่แล้ว เพื่อใช้สร้าง USB Drive Bootable)

- Windows 7 USB/DVD Download Tool (โปรแกรมฟรีไม่คิดมูลค่า, Download Here)

- แผ่น Windows 7 (อันนี้ไม่มีแจกนะจ๊ะ อยากได้ก็หาเอา เอ้ย! ซื้อเอาเอง)

- โปรแกรม rEFIt 0.14 (โปรแกรมฟรีไม่คิดมูลค่า, DMG file, Download Here)

- USB Thumb Drive or External Harddisk (ความจุ 4 GB ขึ้นไป)

- MacBook Air (11" หรือ 13" ก็ได้นะจ๊ะ)

มีครบแล้วก็มาลงมือกันเลย :tuzki037:


วิธีการ


ติดตั้งโปรแกรม rEFIt

1. เริ่มต้นก่อนที่จะทำสิ่งใด ก็คือต้องโหลดและลงโปรแกรม rEIFt Utility บน MacBook Air ในฝั่ง OS X Snow Leopard กันเสียก่อน

โดยดาวน์โหลดไฟล์ DMG จากนั้นก็เปิดไฟล์ และรัน rEFIt.mpkg เพื่อติดตั้ง

Posted Image


2. เมื่อติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว รีสตาร์ทเครื่องสักสองครั้งเพื่อความชัวร์ (ไม่ทราบว่าทำไมต้องสอง แต่เว็บเมืองนอกบอกมา ผมก็ทำตาม ไม่กล้าเสี่ยง :tuzki026: )


Boot Camp และการเตรียมตัวอื่นๆ

1. หลังจากผ่านขั้นตอนการติดตั้ง rEFIt กันไปเรียบร้อยแล้ว เราก็จะกลับมากันบนฝั่งแมค เพื่อรันโปรแกรม Boot Camp Assistant

ในโปรแกรมนี้เราจะทำสองสิ่งใหญ่ๆคือ แบ่งพาร์ทิชั่นให้ฝั่งวินโดว์ และดาวน์โหลดโปรแกรม Boot Campe สำหรับฝั่งวินโดวส์

(สังเกตว่า Boot Camp จะเตือนเราว่าต้องใช้ CD/DVD Drive แต่เราไม่ต้อง :tuzki010: )

Posted Image


2. หลังจากนั้นเมื่อกด Continue ก็จะมีคำถามว่าเราต้องการดาวน์โหลด Windows support software มั้ย? ก็ดาวน์โหลดกันมาให้เรีนบร้อยนะครับ

เพราะมันเป็นไฟล์ที่เมื่อเราลง Windows 7 เสร็จแล้ว จำเป็นต้องใช้ กด Continue ไปเลย!

Posted Image

Posted Image


3. เมื่อดาวน์โหลดไฟล์เสร็จเรียบร้อย ก็จะมีหน้าต่างให้แบ่งพาร์ทิชั่นขึ้นมา ก็ลองเลือกขนาดดูนะครับ ปรับให้พอเหมาะกับตัวเอง

โดยปกติแล้วตัว Windows 7 เองจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 10 GB เมื่อหาความพอเหมาะได้แล้วก็กด Partition เลยครับ

Posted Image


4. เมื่อแบ่งพาร์ทิชั่นเรียบร้อยแล้ว Boot Camp ก็จะถามเราว่า ต้องการเริ่มต้นการติดตั้งวินโดว์ทันที หรือ ออกจากโปรแกรมแล้วติดตั้งคราวหน้า

ก็เลือก Quit and Install Later ไปนะครับ

Posted Image

มาถึงตรงนี้ MacBook Air ของเราก็พร้อมแล้วที่จะติดตั้ง Windows 7


เตรียม USB Drive สำหรับ Bootable Windows 7 installation drive

(ขั้นตอนการเตรียมนี้ต้องมีเครื่องที่ลงวินโดวส์อยู่แล้วนะครับ ถ้าไม่มีก็ยืมเครื่องเพื่อนเอา)

1. ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Windows 7 USB/DVD Download Tool

ด้วยบารมีแห่ง Windows 7 จะทำให้คุณสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ต้องเตรียม USB ผ่านระบบ command prompt กันอีกแล้ว

2. เปิดโปรแกม Windows 7 USB/DVD Download Tool ขึ้นมา ตัวโปรแกรมก็จะแนะนำเราเองทุกอย่าง ว่าต้่องทำอย่างไรบ้าง

สิ่งที่ต้องการคือไฟล์ ISO ของ Windows 7 อาจจะใช้เป็น Physical Drive หรืออะไรก็ได้ (ส่วนตัวผมใช้ MagicDisc สร้างไฟล์ ISO ขึ้นมา)

เมื่อได้ไฟล์ที่ต้องการมาแล้วก็คลิก Browe หาตำแหน่งไฟล์ ISO ของเราา และกด Next

Posted Image


3. ใน Step 2 of 4 เลือก USB device

Posted Image


4. ใน Step 3 of 4 ให้เราเลือก USB Drive ที่เราจะใช้ในการติดตั้ง เมื่อเลือกได้แล้วก็กด Begin Copying

ซึ่ง USB หรือ Harddisk ที่เราเอามาใช้ทำ Bootable Drive นี้โดนลบข้อมูลทิ้งหมดเลย

ดังนั้นเก็บไฟล์เดิมในฮาร์ดดิสก์ที่จะนำมาใช้ให้ดีๆนะครับ ตั้งสติดีแล้วก็ตลิก Run

Posted Image

Posted Image


5. เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมดแล้ว กราก็จะได้ Bootable Windows 7 USB Drive Installer มาใช้กันแล้ว


ติดตั้ง Windows 7 ในพาร์ทิชั่นของ Boot Camp

1. Reboot MacBook Air ของท่าน พร้อมกับกดปุ่ม Option ค้างไว้ขณะเครื่องกำลังเปิด เพื่อเปิดใช้ rEFIt boot ตัวใหม่

2. เลือก Windows USB Drive และรอให้ MacBook Air รีบูทเข้าไปในหน้าติดตั้งที่เหมือนกับบูทจาก CD/DVD ปกติเวลาจะติดตั้ง Windows

3. เมื่อหน้าต่าง Windows 7 installation wizard เริ่มต้น ก็ให้เราเลือก Custom Installation

4. เมื่อเข้ามาในหน้าต่างถัดจากข้อที่แล้ว ให้แน่ใจว่าเราเลือกพาร์ทิชั่นที่ถูกต้อง โดยปกติจะเป็น Disk x Partion x: Bootcamp

(โดย x แทนตัวเลข อาจจะเป็น Disk 0, Partion 3 เป็นต้น) จากนั้นคลิก Drive options (advanced)

คลิก Format (เพื่อฟอร์แมท Drive เดิมให้เป็น NTFS) จากนั้นคลิก Next

5. การติดตั้งจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที เมื่อ Windows 7 รีบูทส์ เราจะเข้าสู่หน้า rEIFt อีกครั้ง โดยครั้งนี้ให้เราเลือก "Boot Windows from Partition x"

จากนั้นการติดตั้ง Windows 7 ก็จะดำเนินการต่ออีกสักพัก (หากหน้า rEIFt ไม่ขึ้นอัตโนมัติ ให้รีสตาร์ทเครื่องใหม่จากฝั่งแมค และกดปุ่ม Option ค้างไว้ด้วย)

Posted Image


6. เมื่อการติดตั้ง Windows 7 เสร็จสิ้นลง ให้รีสตาร์ทเครื่อง และกลับไปยังฝั่ง OS X เนื่องจากเราต้องการไฟล์ Boot Camp สำหรับวินโดวส์ที่เราโหลดมาตั้งแต่ตอนต้น


Windows Support Files และการติดตัั้งลงใน Windows 7

1. เปิด Disk Utility และ Erase Windows 7 installer USB อย่าลืมเลือก Format เป็น MS-DOS (FAT) หรือถ้ามี USB อันอื่นว่างๆก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยนะครับ

2. หาไฟล์ WindowsSupport.dmg ที่เราโหลดมาตอนใช้โปรแกรม Boot Camp เมื่อเจอแล้วก็เปิดไฟล์แล้ว Copy ไฟล์ทั้งหมดใส่ USB ที่ฟอร์แมทแล้ว

3. ทำการรีสตาร์ท และขณะเครื่องกำลังเปิดให้กดปุ่ม Option ค้างไว้ เพื่อเลือกเข้าฝั่งวินโดวส์อีกครั้ง

4. เมื่อ Windows 7 โหลดเสร็จ ก็เปิดเข้าไปใน USB Drive เข้าไปในโฟลเดอร์ Boot Camp และทำการติดตั้ง setup.exe

ในการติดตั้งนี้จะมี Drivers ต่างๆที่จำเป็นและ Bootcamp Control Panel สำหรับ Windows เพื่อใช้ปรับแต่งอะไรต่างๆ


เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมด เราก็จะได้ MacBook Air ที่มีทั้ง OS X และ Windows สมใจอยากแล้ว เหนื่อยจริงๆ :tuzki052:

สำหรับวิธีการนี้สามารถใช้ได้กับ Mac ทุกรุ่นที่ใช้ชิปของ Intel นะครับ



เพิ่มเติม

สามารถ ลบ rEFIt หลังจากติดตั้ง Windows เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะทำให้หน้า EFI กลับไปเป็นเหมือนเดิม (รวมถึงลบความสามารถในการบูทจาก USB) โดยทำตามนี้

Boot ฝั่ง OS X ขึ้นมา ไปที่ System Preferences > Startup Disk > Select Mac OS X เป็น OS ที่จะบูท

หลังจากเซ็ทตามนี้และรีบูท ให้ลบหรือเปลี่ยนชื่่อโฟลเดอร์ "efi" ใน root ของ Mac Harddrive/parition และรีบูทอีกครั้ง

=====================
สาครินทร์ นุ้ยพ่วง
sakarin nuypuang
7ม.ค.58